ที่มา: https://ori.hhs.gov/case-one-age-old-conflicts
Bobby Bill เป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งทำงานในแลบของนักวิจัยที่เป็นคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์เกี่ยวกับ ยีนส์ที่ทำให้อายุยืน (c. elegans) จึงทำให้ Bobby Bill มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะค้นพบยีนส์ที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตที่มีการผันแปรทางพันธุกรรมที่มีอายุยาวนานกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไป เขาหันไปใช้แมลงหวี่เป็นสิ่งมีชีวิตในการทดลอง ในที่สุด ทีมวิจัยของเขา ซึ่งอยู่ใน Midwestern school ก็ประสบความสำเร็จในการแยกยีนส์ที่อยู่ในแมลงหวี่ที่มีอายุยืนกว่ายีนส์ทั่วไป
หลังจากนั้น Bill ได้รับการติดต่อจากบริษัทยาขนาดใหญ่ ซึ่งสนใจในเรื่องการทำให้อายุยืน ให้มาเป็นที่ปรึกษา ในช่วงเริ่มแรก พวกเขาสนใจในการทดลองสร้างอาณาจักรแมลงหวี่ที่ประกอบด้วยแมลงหวี่ที่มีอายุมาก จึงได้ขอให้ Bill ช่วยเพาะเลี้ยงแมลงหวี่ที่มีอายุมาก พวกเขาเชิญ Bill มายังห้องแลบของบริษัทสามครั้งต่อปี โดยในแต่ละครั้งจะให้ค่าเดินทาง $2,000 จนกระทั่ง ความสัมพันธ์ระหว่าง Bill กับบริษัทยากลายเป็นเสมือนหุ้นส่วนในการทำงานมากกว่าเป็นแค่ที่ปรึกษา เขาได้ถูกทาบทามให้ไปนั่งเป็นกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และได้ค่าตอบแทนเป็นหุ้นของบริษัทมูลค่าถึง $12,000 และยังได้สนับสนุนเงินจำนวน $180,000 ไปยังห้องแลบของเขาเป็นระยะเวลา 3 ปีเพื่อดำเนินโครงการร่วมกัน Bill ได้ใช้เวลา 15% ในงานที่ทำร่วมกับบริษัท และอีก 60% กับงานของ NIH เวลาที่เหลือใช้สำหรับการสอนและด้านบริหาร นับวัน Bill ยิ่งเดินทางไปบริษัทบ่อยขึ้น ในบางครั้ง Bill ให้อาจารย์คนอื่นในคณะสอนแทนเพื่อให้เขาสามารถเดินทางไปบริษัทได้
ในการประชุมล่าสุดที่บริษัท Bill และกรรมการคนอื่นๆ ได้มองเห็นผลิตภัณฑ์ยาใหม่ที่มีศักยภาพและสามารถขอสิทธิบัตรได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้จะช่วยกระตุ้นให้ยีนส์มีอายุยืนนานขึ้น และสามารถนำไปใช้ชะลอวัยมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม กรรมการยังคงถกเถียงกันในประเด็นการตีพิมพ์ผลการค้นพบ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากงานวิจัย กรรมการจึงถามว่าใครคือผู้ที่ควรเป็นเจ้าของผลงานอย่างถูกกฎหมาย ในขณะที่มีการผลักดันผลิตภัณฑ์ไปสู่การต่อยอดทางการค้า Bill หรือ นักศึกษาปริญญาเอกที่ทำงานวิจัยกับเขา หรือ สถาบันของเขา?
Bill รู้สึกว่า ในขณะที่ทีมวิจัยของเขาทุ่มให้กับความสำเร็จของโครงการ แต่การทดลองที่นำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลับไม่ได้ดำเนินการในฐานะของโครงการที่ได้รับทุนจาก NIH และเขาก็ใช้พยายามอย่างมากในการพัฒนาโครงการนี้ ดังนั้น เขาคิดว่ามันจะเป็นการยุติธรรมหาก his intellectual property (IP) interests be represented, but not necessarily the school’s interests.
Bill ยังคงเชื่อว่า เขาได้ทุ่มเททั้งการสอน การบริหาร การวิจัย ที่สถาบันในช่วงเวลางาน แต่เขาได้ทุ่มเทความพยายามเพิ่มเติมด้วยตัวของเขาเอง ในขณะที่นักศึกษาที่ทำวิจัยกับเขาก็เพียงแค่เข้ามาฝึกงาน จึงไม่ควรได้มีส่วนแบ่งในผลประโยชน์ใดๆ จากการเข้าร่วมโครงการนี้
Bill ควรตอบคำถามคณะกรรมการอย่างไร?
คำถามเพื่อการอภิปราย
- มีความขัดกันของผลประโยชน์หรือไม่ กับการที่ Bill เข้าร่วมโครงการนี้
- มีความขัดกันในความรับผิดชอบหรือไม่ และมันต่างจากความขัดกันของผลประโยชน์อย่างไร
- ภายใต้ NIH Financial Conflict of Interest (FCOI) guidelines เขาควรรายงานต่อ NIH เกี่ยวกับการได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ จากบริษัทหรือไม่ และบริษัทควรต้องรายงานด้วยหรือไม่
- เมื่อมีประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นในโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน กลไกอะไรที่สถาบันการศึกษาควรนำมาใช้จัดการปัญหาดังกล่าว
- ในทรรศนะของคุณ สถาบันการศึกษาควรเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์/สิทธิบัตรหรือไม่ แล้วทำไมมันจึงมีความสำคัญต่อสถาบันการศึกษา
- ควรอนุญาตให้อาจารย์ออกไปทำงานเป็นที่ปรึกษาภายนอกหรือไม่ แล้วถ้าสถาบันมีนโยบายเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวจะเป็นการจำกัดสิทธิหรือไม่
- ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ อะไรคือข้อดีและข้อเสีย
- Bill ได้ทำบางสิ่งผิดพลาดหรือไม่ หรือบริษัทที่เป็นฝ่ายผิด
- อะไรคือประเด็นสำคัญที่จะเกิดกับนักศึกษาที่เข้ามาฝึกงาน เมื่อเงินเดือนของเขาถูกจ่ายโดยบริษัท
- ผลงานวิจัยควรถูกดำเนินการผ่านกระบวนการ peer review ก่อนตีพิมพ์หรือไม่
- NIH ควรมีสิทธิในสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์ในผลงานวิจัยหรือไม่
- เราควรที่จะต้องหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดกันของผลประโยชน์ หรือแค่บริหารจัดการมัน